อ่านสักนิด...สิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ก่อนตัดสินใจ "ดึงหน้า Face Lift"

เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังเราต้องเหี่ยวและคล้อย  จากประสบการณ์ที่หมอได้เจอกันไข้มากหน้าหลายตา  ถึงแม้จะอายุใกล้เคียงกันแต่บางคนก็มีสภาพผิวหน้าที่แตกต่างกันไป  อย่างในกลุ่มคนอายุ 35 – 40 ปีขึ้นไป  โดยธรรมชาติกระบวนการสร้าง Elastin และ Collagen จะเริ่มน้อยลง   เมื่อน้อยลงทำให้ใบหน้าเริ่มคล้อย วิธีชะลอร่องรอยแห่งวัย ด้วยการซ่อมแซมและสร้างสารต่างๆ  เพื่อยืดอายุใบหน้าให้ตึงกระชับ  ไม่ว่าจะเป็นการทานวิตามิน อาหารเสริม  การฉีดสารBotulinum toxin A (ที่เรียกติดปากกันว่า โบท๊อก)    Filler (ฟิลเลอร์)  ร้อยไหม  และอีกหลาย ๆ หัตถการ  แต่ใช่ว่าสิ่งที่คนอื่นทำแล้วดี  เราทำแล้วจะออกมาดีเหมือนกัน   สาเหตุขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น  การใช้ชัวิตประจำวัน  กรรมพันธุ์   หากทำมาทั้งหมดแล้วยังไม่ตอบโจทย์ของตัวเราในการแก้จุดหย่อนคล้อย  ขั้นสุดท้ายหมอจะแนะนำให้ “ผ่าตัดดึงหน้า   Face  Lift”

ผ่าตัดดึงหน้า Face  Lift  ปัญหาโครงสร้างและรูปหน้าของแต่ละกันก็ต่างกัน  คำถามและปัญหาที่หมอได้เจอก็จะต่างกันไป 

  1. อายุยังน้อย แต่อยากดึงหน้าเพราะเคยตัดกราม กรอโหนก ทำได้ไหม?
  2. เคยดึงหน้ามาแล้วอยากแก้แผลเก่าเพราะเห็นชัด
  3. รู้ตำแหน่งแผลก่อนตัดสินใจผ่าตัด
  4. ปัญหาที่อาจเกิดได้หากโดนเส้นประสาทและตัดเลาะไม่เท่ากัน
  5. ดึงหน้าก็แก้ปัญหาไม่มีติ่งหูได้

อายุยังน้อย แต่อยากดึงหน้าเพราะเคยตัดกราม กรอโหนก ทำได้ไหม?

ช่วงวัยรุ่นนิยมหน้าเรียวเล็ก  ศัลยกรรมตัดกราม  กรอโหนก  เลยนิยมที่นิยมในกลุ่มคนอายุ 20 ปลาย ๆ30 ต้นๆ   การ ศัลยกรรมตัดกราม  กรอโหนก ช่วยเรื่องหน้าเรียวเล็กจริงแต่ผลที่ตามมา คือ ความคล้อยของผิวหนังภายนอกหลังผ่าตัด ซึ่งหมอจะบอกคนไข้ก่อนเสมอถึงผลที่ตามมา  เบื้องต้นหากอยากหน้าเรียวหมอจะแนะนำเป็นการฉีดสารBotulinum toxin A   บริเวณกรามก่อน

    ถ้าหากผ่าตัดมาแล้วผิวหน้าคล้อยมากจริงๆไม่สามารถแก้ไข ด้วยการทำทรีนเม้นอื่น  การผ่าตัดดึงหน้าก็สามารถทำได้  แต่ต้องประเมินรูปหน้าเป็นส่วน ๆ อาจจะไม่ต้องดึงหน้า 3 ส่วนทั้งหมด  เป็นการดึงหน้าเฉพาะส่วนแทน   ซึ่งหากแก้ไขด้วยวิธีอื่นได้ในกลุ่มคนที่อายุไม่ถึง 25-40   ปี  หมอจะไม่ค่อยแนะนำให้ดึงหน้า  เพราะไม่คุ้มกับการมีรอยแผลและอาจต้องมีการดึงหน้าซ้ำอีกรอบในช่วงอายุประมาณ 45-50 ปี ขึ้นไป เพราะในช่วงอายุนี้ Elastin และ Collagen จะเริ่มน้อยลง

ดึงหน้า หมอคณิต After
ฺดึงหน้า หมอคณิต Before

เคยดึงหน้ามาแล้วอยากแก้แผลเก่าเพราะเห็นชัด

เรื่องแก้แผลผ่าตัดเก่าเป็นอะไรที่หมอต้องพูดอธิบายกันยาว  เพื่อจะได้ให้เข้าก่อนตัดสินใจผ่าตัด  บางเคสแผลผ่าตัดสามารถผ่าตัดแก้ไขตัดรอยแผลเก่าออกได้หมด   บางเคสสามารถใช้แผลผ่าตัดเดิมได้  

ตัวอย่าง 1  กรณีแผลผ่าตัดอยู่เลยหน้าขอบใบหูไม่มาก  หมอจะกล้ามเนื้อภายในถึงมุมปากให้สามารถยืดผิวหนังภายนอกได้มากสามารถตัดแผลเก่าทิ้งแล้วเย็บแผลใหม่บริเวณแนวขอบใบหูได้

ตัวอย่าง 2  แผลหลังใบหูมีการรั้งตึงมาก  อาจจะมีอาการตึงบริเวณคอในช่วงแรกหลังการผ่าตัดต้องระมัดระวังการเอียงคอ  ไม่หันเร็วและแรง   แต่สามารถแก้ไขรอยแผลได้

ดึงหน้า หมอคณิต แผลหลังหู

รู้ตำแหน่งแผลก่อนตัดสินใจผ่าตัด

ตำแหน่งแผลที่ดี  ควรมีการเย็บซ่อนไว้เพื่อได้มั่นใจใรการที่จะเปิดผม  โดยเฉพาะในผู้ชายที่ตัดผมสั้น

ดึงหน้าส่วนบน   ช่วยเรื่องหางตาตก ยกหางคิ้ว   หมอเลยซ่อนแผลอยู่ตามแนวผมด้านในบริเวณขมับเหนือใบหู

ดึงหน้าส่วนกลาง แก้ปัญหาแก้มที่คล้อย ใบหน้าที่ไม่เท่ากัน  เก็บช่วงแก้ม และร่องแก้ม   แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณหน้าหู แผลจะโค้งไปตามแนวร่องของหูด้านหน้า

ดึงหน้าส่วนล่าง  แก้ปัญหา คอ เหนียง  เก็บส่วนคอ  แผลผ่าตัดผ่าตัดอยู่บริเวณหลังหูตามร่องหูอ้อมไปถึงด้านหลัง แนวไรผม

ดึงหน้า หมอคณิต ตำแหน่งแผล

ปัญหาที่อาจเกิดได้หากโดนเส้นประสาทและตัดเลาะไม่เท่ากัน

อาการชาที่หน้า ซึ่งก็เป็นเรื่องที่พบได้ปกติในการดึงหน้าเลยครับ เพราะว่าผิวหนังที่ถูกแยกขึ้นมาจากที่เดิมย่อม จะต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่เลี้ยงผิวหนังบ้าง โดยทั่วไปก็ประมาณ 2 เดือน อาการก็จะเป็นปกติ  แต่หากโดนเส้นสำคัญอาการชาอาจคงอยู่ตลอด

หน้าเบี้ยว  ในการผ่าตัดดึงหน้าต้องมีการประเมินรูปหน้าก่อนการผ่าตัดธรรมชาติของเรา  2 สิ่ง มักไม่เท่ากัน  รูปหน้าคนเราก็เหมือนกันจะแตกต่างกันมามาก  ถ้าไม่ถึงกับเอาไม้บรรทัดวัด  แต่ในการผ่าตัดหมอใช้ไม้บรรทัดวัดจริง ๆ ครับ เพื่อดูในส่วนขั้นตอนการเลาะกล้ามเนื้อและตัดผิวหนังภายนอก  ช่วยให้ประเมินในการตัดเลาะและเย็บได้เท่ากัน

ดึงหน้า หมอคณิต4

ดึงหน้าก็แก้ปัญหาไม่มีติ่งหูได้

ในเคสที่เคยดึงหน้ามาแล้วแต่โดนยึดติ่งหูจนยาวทำให้ติ่งหูหาย   ในการผ่าตัดดึงหน้าสามารถแก้ไขเย็บให้มีติ่งหูได้เคสของคนที่ไม่มีติ่งหูโดยธรรมชาติก็สามารถทำได้เช่นกัน

ดึงหน้า หมอคณิต3
ดึงหน้า หมอคณิต2
Facebook
Email

1 Comment

Leave a reply